รายละเอียดข้อมูล
ID | 63 |
---|---|
Icode | 1900689 |
ชื่อเรียกอังกฤษ | Prednisolone |
ชื่อเรียกไทย | เพรดนิโซโลน |
รูปภาพ | ![]() |
รูปแบบที่มีในโรงพยาบาล | ยาเม็ดขนาด 5 มิลลิกรัม |
ข้อบ่งใช้ | ใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ หรือลดการอักเสบที่รุนแรง และใช้รักษาโรคบางชนิดที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ ซึ่งต้องวินิจฉัยโดยแพทย์ |
คำแนะนำในการใช้ยา | - การใช้ยานี้อาจจะทำให้เกิดอันตรายรุนแรงได้ จึงต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น - รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที หรือรับประทานพร้อมนม และดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อลดอาการปวดมวนท้อง - ห้ามลดหรือหยุดยาเอง เพราะอาจทำให้อาการของโรคกำเริบหรือเกิดอาการขาดยา ทำให้ความดันเลือดต่ำ หมดสติได้ - อย่าอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อวัณโรคและไวรัส เช่น อีกสุกอีใส หัด เพราะยานี้อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและมีอการติดเชื้อรุนแรง |
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา | 1. อาการที่ต้องหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที - กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นเอ็น - คันช่องคลอดหรือตกขาวผิดปกติ - บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ - ประจำเดือนผิดปกติ - ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง - มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง รอยฟกช้ำ หรือเลือดออกผิดปกติ - มีอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ - หน้ากลมบวม ตัวบวม น้ำหนักขึ้นเร็วผิดปกติ มือและเท้าบวม - อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ประสาทหลอน ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย - อุจจาระมีสำดำคล้ายยางมะตอยหรือมีเลือดปน 2. อาการที่ไม่จาเป็นต้องหยุดยา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที - ปวดมวนท้อง อาหารไม่ย่อย - เป็นแผลหายยาก - เป็นสิว - ผิวหนังบางลง ผิวหนังแตก - มีขนตามร่างกายมากขึ้น - เหงื่อออกมาก - อยากอาหารมากขึ้น และน้ำหนักตัวเพิ่ม |
ข้อห้ามใช้ | ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบอื่นในตำรับนี้ - ผู้ที่กำลังเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ เพราะยานี้ทำให้แผลรุนแรงขึ้นและกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุได้ - กำลังเป็นวัณโรค หรือกำลังติดเชื้อไวรัส เช่น อีสุกอีใส งูสวัด หัด หรือเริมที่กระจกตา เพราะทำให้โรคติดเชื้อเหล่านี้รุนแรงขึ้น - กำลังเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะทำให้กระดูกพรุนมากขึ้น และกระดูกแตกหักง่ายขึ้น - เป็นโรคทางจิตขั้นรุนแรง เพราะทำให้อาการทางจิตรุนแรงขึ้น |
อันตรกิริยาระหว่างยา | - อย่าใช้ร่วมกับยาอื่นโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร - ไม่ควรใช้ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (เช่น เพียรอกซิแคม ไอบูโพรเฟน) ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเบาหวาน ยาต้านวัณโรค ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อรา วัคซีน |
การเก็บรักษายา | ควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุเดิมตามที่ได้รับมา ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง |
ข้อควรระวังอื่นๆ | - หลีกเลี่ยงการใช้ยาในเด็ก เนื่องจากอาจทำให้เด็กเติบโตช้ากว่าปกติ หรือตัวเตี้ย - หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้สูงอายุ เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายจากยา - ระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เพราะอาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่แพทย์อาจพิจารณาสั่งใช้ยานี้ หากมีเหตุผลทางการแพทย์ - หลีกเลี่ยงการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร เพราะยาถูกขับออกทางน้ำนม |
อ้างอิง | 1. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade name index. 18 ed.; 2009-2010. 2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายการข้อมูลยาสำหรับประชาชน. [cited 2017Oct 18]. Available from: http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/ข้อมูลยาสำหรับประชาชน.aspx |